วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของไวรัส

                ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นมาแต่เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อก่อกวนการทำงาน
                 ของระบบเลยทำลายแฟ้มข้อมูล โปรแกรมต่างๆที่มีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์สาเหตุที่ได้มีการเรียกชื่อกันว่าไวรัส
                 คอมพิวเตอร์เนื่องมาจากคำว่า  ไวรัส มีความหมายว่าเป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่ระบาดและติดต่อได้อย่างรวดเร็ว
                 สามารถหลบซ่อนตัวไว้อยู่ในหน่วยความจำและจะอยู่ในหน่วยความจำตลอดจนกว่าจะปิดเครื่องเมื่อมีการนำแผ่น
                 บันทึกอื่นๆมาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัสหลบซ่อนอยู่ในหน่วยความจำแผ่นบันทึกแผ่นนั้นก็จะติดไวรัส
                 ไปด้วยกำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์
                           กำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นโดย 2พี่น้องชาวปากีสถานมีชื่อว่า อัมจาด และเบซิต ซึ่งทั้ง2พี่น้อง
                 เปิดร้านขายคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ได้มีการปล่อยไวรัสเบรน (Brain) ไว้ในโปรแกรมที่
                 ลูกค้ามาก๊อปปี้ไปใช้งานด้วยประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ ไวรัสที่ติดอยู่ในบูตเซกเตอร์ ไวรัสที่ติดตารางพาร์
                 ติชั่น ไวรัสที่ติดในแฟ้มการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์มี 2 ทาง คือ ดิสก์และสายสื่อสาร
                 (อ้างอิงข้อมูลจาก http://petsai.212cafe.com/archive)

อาการของคอมพิวเตอร์ที่สงสัยว่าติดไวรัส
                    1.ชอบมีหน้าต่างโฆษณาผุดขึ้นมาบ่อยๆจนน่าลำคาญ ทั้งๆที่ไม่ได้รับเชิญ
                    2.มีโปรแกรมบางอย่างติดตั้งอยู่ในเครื่อง ทั้งๆที่ไม่เคยสั่งติดตั้ง  บางโปรแกรม ถอนการติดตั้งไม่ได้ ลบก็ไม่ออก
                    3.รีสตาร์ทเครื่องเอง ทั้งๆที่ไม่ได้สั่ง หรือเครื่องแฮงค์อยู่บ่อยๆ(กรณีย์เช็คHardwareแล้วปกติ)
                    4.ปรากฏหน้าโฮมเพจแปลกๆ ที่เราไม่ได้ตั้งค่าไว้ และไม่สามารถตั้งค่าโฮมเพจใหม่ได้
                    5.ขณะที่กำลังเข้าชมเว็บไซด์ที่ต้องการ กลับมีมีเว็บไซด์อื่นที่ไม่รู้จักปรากฏออกมาด้วย
                    6.อินเทอร์เน็ตช้าลงอย่างไม่รู้สาเหตุ
                    7.เครื่องทำงานได้ช้าลง เนื่องจากต้องเสียหน่วยความจำ(Ram)ไปให้กับไวรัส หรือHarddisk ทำงานตลอด
                สังเกตุไฟสีแดงจะค้าง
                    8.ปรากฏ เมล์ ที่ไม่รู้จักอยู่เต็มไปหมด
                    9.บางโปรแกรมที่เราติดตั้งไว้ในเครื่องไม่ทำงาน ข้อมูลในเครื่องได้รับความเสียหาย เปิดอ่านไม่ได้  
                แฟ้มหรือโปรแกรมถูกทำลาย ไวรัสบางโปรแกรมจะทำลายโปรแกรมหลักได้แก
่                หรือถูกลบหรือหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
                   10.บางครั้งสั่งพิมพ์งานแต่เครื่องพิมพ์(Printer)กลับไม่ตอบสนองคำสั่ง หรือสั่งแล้วพิมพ์ไม่หยุด
                   11.มีแถบเครื่องมือหรือทูลบาร์แปลกๆ ในเว็บบราวเซอร์ ที่ท่านใช้Onlineอยู่ ทั้งๆที่ไม่ได้ติดตั้ง
                   12.มีIconชอร์ตคัท ของโปรแกรมที่เราไม่รู้จัก อยู่บนเดสก์ทอป ทั้งๆที่ไม่เคยสั่งติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม
                   (อ้างอิงจาก mailto:http://www.eclubthai.com/board/index.php?action=printpage;topic=2941.0)
                   13.ทำงานช้าลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เคยทำงานรวดเร็ว ต่อมาเกิดอาการเฉื่อยลง การเปิดแฟ้มช้าลง
                   บางครั้งมีภาพหรืออักษรประหลาดขึ้นมาบนจอภาพ
                   14.แผ่นบันทึกข้อมูลเต็ม ไวรัสบางโปรแกรมจะเพิ่มขนาดให้กับแฟ้มข้อมูล หรือ โปรแกรม
               ทำให้แฟ้มข้อมูลโตขึ้นทุกครั้งที่ใช้งานจนในที่สุดจะมีข้อความแจ้งว่าแผ่นบันทึกข้อมูลเต็ม
                   15.แฟ้มหรือโปรแกรมถูกทำลาย ไวรัสบางโปรแกรมจะทำลายโปรแกรมหลักได้แก่ โปรแกรมที่
              มีประเภทเป็น .EXE และ .COM ทำให้นำโปรแกรมมาทำงานไม่ได้
                  (อ้่างอิงจาก http://blog.hunsa.com/gracy6111/blog/3194)

เทคนิคการป้องกันไวรัส ที่ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
                      1. ใช้การคลิ๊กขวา->open เพื่อเข้า drive ทุกๆ drive และทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเราเอง หรือเครื่องคนอื่น
                 ทำให้ชินครับ ช้าแต่ชัวร์
                      2. ถ้ามีเนต ให้ update antivirus ทุกวัน จะวันละกี่ครั้งก็แล้วแต่ อย่างน้อยคือ 1 ครั้ง
                      3. ใช้ firefox ในการท่องเว็บ โอกาสติดไวรัสจะลดลง
                      4. ตั้งค่า Folder option ให้โชว์ไฟล์ระบบ และ Hidden Files แล้วก็แสดงนามสกุลของไฟล์ด้วย
                      5. จะคลิ๊กอะไรในเว็บ ก็ใจเย็นๆ มีสติ ก่อนคลิ๊ก โหลดอะไรก็อ่าน comment ของคนที่โหลดไปก่อนหน้าแล้วก็จะดีมาก
                      6. อ่านมากรู้มาก ทั้งนิตยสาร computer และเว็บ it ต่างๆในเน็ต เช่น pantip.com
                      7.ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ (อ้างอิงจาก mailto:http://www.gler.net/forum/index.php?topic=601.0)

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ระบบย่อยของสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(MIS Subsystems)
chain2_4.gif

1. ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
        เราสามารถกล่าวได้ว่าหน้าที่หลักของ MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายใน และภายนอกองค์การมาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม และจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อให้ผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของเขาให้มีประสิทธิภาพ ถ้าพิจารณาในรายละเอียดหรือตามสภาพความเป็นจริงขององค์การ การที่ธุรกิจจะได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร จะต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติของแต่ละส่วนย่อย ๆ ในระบบแตกกระจายออกไป เพื่อรับผิดชอบการทำงานเฉพาะในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ ซึ่งเราสามารถกล่าวว่า กลุ่มของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS Subsystems) โดยที่เราสามารถแบ่งระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการออกตามหน้าที่งานในองค์การได้เป็น 4 ระบบ ต่อไปนี้
        1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System) หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การ โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวก รอดเร็ว และสามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต
        2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Reporting System) หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบและจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วการทำงานของระบบจัดออกรายงานสำหนับการจัดการจะถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ
        3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System) หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหารหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง (Semi-structure) และไม่มีโครงสร้าง (Nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับ หรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจกับผู้บริหาร ปัจจุบัน DSS ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์การ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลจากหล่ายฝ่ายและเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร ซึ่งเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป
        4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System) หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพโดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด หรือเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกัน และระหว่างองค์การ รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
        ความต้องการใช้งานสารสนเทศที่หลากหลายในองค์การ ทำให้ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแตะละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ ส่วนประกอบ และการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แต่ละระบบยังทวีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ศึกษาด้านบริหาระธุรกิจและการจัดการระบบสารสนเทศจะต้องทำความเข้าใจในคุณสมบัติการทำงาน และส่วนประกอบของระบบย่อย เพื่อให้สามารถนำความรู้ และความเข้าใจไปใช้งานได้จริง ประการสำคัญคือสามารถบูรณาการระบบย่อยภายในองค์การให้สอดคล้องกันและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ