วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 8 การพัฒนาระบบสารสนเทศ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ
ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ 
1.  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน  ระบบเดิมไม่สามารถให้ข้อมูลหรือทำงานได้ตามต้องการ มีการดำเนินงานหลายขึ้นตอน ยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำข้อมูลสรุปสำหรับการติดตามการปฏิบัติงานโดยรวมขององค์การ จึงจำเป็นต้องพัฒนาหรือปรับปรุงระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในและกระบวนการบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.  การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี  เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานที่มีอยู่เดิม
3.  การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 
-  ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
-  ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
-  ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
การพัฒนาระบบประกอบด้วย
            1)  กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอนการดำเนินธุรกิจขององค์การ
            -  การปรับปรุงคุณภาพ
            -  การติดตามความล้มเหลวจากการดำเนินงาน
            -  การปรับค่าตอบแทนของพนักงานโดยใช้การปรับปรุงคุณภาพเป็นดัชนี
            -  การค้นหาและแก้ไขสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลว           
2)  บุคลากร (People) 
3)  วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique) การเลือกใช้วิธีการและเทคนิคที่เหมาะสมกับลักษณะของระบบเป็นสิ่งสำคัญ
4)  เทคโนโลยี (Technology) เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศแล ะงบประมาณที่กำหนด  
5)  งบประมาณ (Budget)  
6)  ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
7)  การบริหารโครงการ (Project Management) 
                    
ทีมงานพัฒนาระบบ
การพัฒนา IT เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบกระบวนการพัฒนาระบบหลายกลุ่ม โดยทั่วไปจะมีการทำงานเป็นทีมที่ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และทักษะจากกลุ่มบุคคล
1)  คณะกรรมการ (Steering Committee)
2)  ผู้บริหารโครงการ (Project Manager)
3)  ผู้บริหารหน่วยงานด้านสารสนเทศ (MIS Manager)
4)  นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) ควรมีทักษะในด้านต่างๆ คือ
                        -  ทักษะด้านเทคนิค
                        -  ทักษะด้านการวิเคราะห์ 
                        -  ทักษะดานการบริหารจัดการ 
                        -  ทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร
5)  ผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิค 
                        -  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA)
                        -  โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
6)  ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป (User and Manager) 

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของไวรัส

                ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นมาแต่เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อก่อกวนการทำงาน
                 ของระบบเลยทำลายแฟ้มข้อมูล โปรแกรมต่างๆที่มีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์สาเหตุที่ได้มีการเรียกชื่อกันว่าไวรัส
                 คอมพิวเตอร์เนื่องมาจากคำว่า  ไวรัส มีความหมายว่าเป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่ระบาดและติดต่อได้อย่างรวดเร็ว
                 สามารถหลบซ่อนตัวไว้อยู่ในหน่วยความจำและจะอยู่ในหน่วยความจำตลอดจนกว่าจะปิดเครื่องเมื่อมีการนำแผ่น
                 บันทึกอื่นๆมาใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไวรัสหลบซ่อนอยู่ในหน่วยความจำแผ่นบันทึกแผ่นนั้นก็จะติดไวรัส
                 ไปด้วยกำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์
                           กำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นโดย 2พี่น้องชาวปากีสถานมีชื่อว่า อัมจาด และเบซิต ซึ่งทั้ง2พี่น้อง
                 เปิดร้านขายคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ได้มีการปล่อยไวรัสเบรน (Brain) ไว้ในโปรแกรมที่
                 ลูกค้ามาก๊อปปี้ไปใช้งานด้วยประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ ไวรัสที่ติดอยู่ในบูตเซกเตอร์ ไวรัสที่ติดตารางพาร์
                 ติชั่น ไวรัสที่ติดในแฟ้มการติดต่อของไวรัสคอมพิวเตอร์มี 2 ทาง คือ ดิสก์และสายสื่อสาร
                 (อ้างอิงข้อมูลจาก http://petsai.212cafe.com/archive)

อาการของคอมพิวเตอร์ที่สงสัยว่าติดไวรัส
                    1.ชอบมีหน้าต่างโฆษณาผุดขึ้นมาบ่อยๆจนน่าลำคาญ ทั้งๆที่ไม่ได้รับเชิญ
                    2.มีโปรแกรมบางอย่างติดตั้งอยู่ในเครื่อง ทั้งๆที่ไม่เคยสั่งติดตั้ง  บางโปรแกรม ถอนการติดตั้งไม่ได้ ลบก็ไม่ออก
                    3.รีสตาร์ทเครื่องเอง ทั้งๆที่ไม่ได้สั่ง หรือเครื่องแฮงค์อยู่บ่อยๆ(กรณีย์เช็คHardwareแล้วปกติ)
                    4.ปรากฏหน้าโฮมเพจแปลกๆ ที่เราไม่ได้ตั้งค่าไว้ และไม่สามารถตั้งค่าโฮมเพจใหม่ได้
                    5.ขณะที่กำลังเข้าชมเว็บไซด์ที่ต้องการ กลับมีมีเว็บไซด์อื่นที่ไม่รู้จักปรากฏออกมาด้วย
                    6.อินเทอร์เน็ตช้าลงอย่างไม่รู้สาเหตุ
                    7.เครื่องทำงานได้ช้าลง เนื่องจากต้องเสียหน่วยความจำ(Ram)ไปให้กับไวรัส หรือHarddisk ทำงานตลอด
                สังเกตุไฟสีแดงจะค้าง
                    8.ปรากฏ เมล์ ที่ไม่รู้จักอยู่เต็มไปหมด
                    9.บางโปรแกรมที่เราติดตั้งไว้ในเครื่องไม่ทำงาน ข้อมูลในเครื่องได้รับความเสียหาย เปิดอ่านไม่ได้  
                แฟ้มหรือโปรแกรมถูกทำลาย ไวรัสบางโปรแกรมจะทำลายโปรแกรมหลักได้แก
่                หรือถูกลบหรือหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
                   10.บางครั้งสั่งพิมพ์งานแต่เครื่องพิมพ์(Printer)กลับไม่ตอบสนองคำสั่ง หรือสั่งแล้วพิมพ์ไม่หยุด
                   11.มีแถบเครื่องมือหรือทูลบาร์แปลกๆ ในเว็บบราวเซอร์ ที่ท่านใช้Onlineอยู่ ทั้งๆที่ไม่ได้ติดตั้ง
                   12.มีIconชอร์ตคัท ของโปรแกรมที่เราไม่รู้จัก อยู่บนเดสก์ทอป ทั้งๆที่ไม่เคยสั่งติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม
                   (อ้างอิงจาก mailto:http://www.eclubthai.com/board/index.php?action=printpage;topic=2941.0)
                   13.ทำงานช้าลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เคยทำงานรวดเร็ว ต่อมาเกิดอาการเฉื่อยลง การเปิดแฟ้มช้าลง
                   บางครั้งมีภาพหรืออักษรประหลาดขึ้นมาบนจอภาพ
                   14.แผ่นบันทึกข้อมูลเต็ม ไวรัสบางโปรแกรมจะเพิ่มขนาดให้กับแฟ้มข้อมูล หรือ โปรแกรม
               ทำให้แฟ้มข้อมูลโตขึ้นทุกครั้งที่ใช้งานจนในที่สุดจะมีข้อความแจ้งว่าแผ่นบันทึกข้อมูลเต็ม
                   15.แฟ้มหรือโปรแกรมถูกทำลาย ไวรัสบางโปรแกรมจะทำลายโปรแกรมหลักได้แก่ โปรแกรมที่
              มีประเภทเป็น .EXE และ .COM ทำให้นำโปรแกรมมาทำงานไม่ได้
                  (อ้่างอิงจาก http://blog.hunsa.com/gracy6111/blog/3194)

เทคนิคการป้องกันไวรัส ที่ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
                      1. ใช้การคลิ๊กขวา->open เพื่อเข้า drive ทุกๆ drive และทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเราเอง หรือเครื่องคนอื่น
                 ทำให้ชินครับ ช้าแต่ชัวร์
                      2. ถ้ามีเนต ให้ update antivirus ทุกวัน จะวันละกี่ครั้งก็แล้วแต่ อย่างน้อยคือ 1 ครั้ง
                      3. ใช้ firefox ในการท่องเว็บ โอกาสติดไวรัสจะลดลง
                      4. ตั้งค่า Folder option ให้โชว์ไฟล์ระบบ และ Hidden Files แล้วก็แสดงนามสกุลของไฟล์ด้วย
                      5. จะคลิ๊กอะไรในเว็บ ก็ใจเย็นๆ มีสติ ก่อนคลิ๊ก โหลดอะไรก็อ่าน comment ของคนที่โหลดไปก่อนหน้าแล้วก็จะดีมาก
                      6. อ่านมากรู้มาก ทั้งนิตยสาร computer และเว็บ it ต่างๆในเน็ต เช่น pantip.com
                      7.ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ (อ้างอิงจาก mailto:http://www.gler.net/forum/index.php?topic=601.0)

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ระบบย่อยของสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(MIS Subsystems)
chain2_4.gif

1. ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
        เราสามารถกล่าวได้ว่าหน้าที่หลักของ MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายใน และภายนอกองค์การมาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม และจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อให้ผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของเขาให้มีประสิทธิภาพ ถ้าพิจารณาในรายละเอียดหรือตามสภาพความเป็นจริงขององค์การ การที่ธุรกิจจะได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร จะต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติของแต่ละส่วนย่อย ๆ ในระบบแตกกระจายออกไป เพื่อรับผิดชอบการทำงานเฉพาะในแต่ละหน้าที่ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ ซึ่งเราสามารถกล่าวว่า กลุ่มของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS Subsystems) โดยที่เราสามารถแบ่งระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการออกตามหน้าที่งานในองค์การได้เป็น 4 ระบบ ต่อไปนี้
        1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System) หรือที่เรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การ โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวก รอดเร็ว และสามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องในอนาคต
        2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Reporting System) หรือที่เรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบและจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วการทำงานของระบบจัดออกรายงานสำหนับการจัดการจะถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ
        3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System) หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหารหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง (Semi-structure) และไม่มีโครงสร้าง (Nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับ หรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจกับผู้บริหาร ปัจจุบัน DSS ได้รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์การ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลจากหล่ายฝ่ายและเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร ซึ่งเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป
        4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System) หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพโดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด หรือเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกัน และระหว่างองค์การ รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
        ความต้องการใช้งานสารสนเทศที่หลากหลายในองค์การ ทำให้ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการแตะละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ ส่วนประกอบ และการใช้งานที่แตกต่างกัน นอกจากนี้แต่ละระบบยังทวีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ศึกษาด้านบริหาระธุรกิจและการจัดการระบบสารสนเทศจะต้องทำความเข้าใจในคุณสมบัติการทำงาน และส่วนประกอบของระบบย่อย เพื่อให้สามารถนำความรู้ และความเข้าใจไปใช้งานได้จริง ประการสำคัญคือสามารถบูรณาการระบบย่อยภายในองค์การให้สอดคล้องกันและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ข้อมูล, สารสนเทศ และการจัดการ
   ข้อมูล (Data) หมายถึงค่าความจริง ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้น เช่น ชื่อพนักงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานในหนึ่งสัปดาห์, จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ข้อมูลมีหลายประเภท เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูล ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ซึ่งข้อมูลชนิดต่างๆ เหล่านี้ใช้ในการนำเสนอค่าความจริงต่างๆ โดยค่าความจริงที่ถูกนำมาจัดการและปรับแต่งเพื่อให้มีความหมายแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสารสนเทศ
    สารสนเทศ (Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ประเภทของสารสนเทศขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น จำนวนยอดขายของตัวแทนจำหน่ายแต่ละคนในเดือนมกราคมจัดเป็นข้อมูล เมื่อนำมาประมวลผลรวมกันทำให้ได้ยอดขายรายเดือนของเดือนมกราคม ทำให้ผู้บริหารสามารถนำยอดขายรายเดือนมาพิจารณาว่ายอดขายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ได้ง่ายขึ้น ยอดขายรายเดือนนี้จึงจัดเป็นสารสนเทศ หรือตัวอย่าง เช่น ตัวเลข 1.1, 1.5, และ 1.6 จัดเป็นข้อมูลตัวเลข เนื่องจากเป็นค่าความจริงซึ่งยังไม่สามารถแปลความหมายใดๆ ได้แต่ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ่งบอกความหมายของข้อมูลได้มากขึ้น เช่น เมื่อกล่าวว่า ตัวเลขเหล่านี้คือยอดขายประจำเดือนมกราคม กุมภาพันธ์และมีนาคม โดยมีหน่วยเป็นหลักล้าน จะทำให้ตัวเลขทั้ง 3 มี ความหมายเกิดขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่ายอดขายเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมมีค่าเท่ากับ 1.4 ล้าน จัดเป็น สารสนเทศที่เกิดขึ้นจากข้อมูลตัวเลขทั้ง 3
   ขบวนการ (Process) หมายถึงการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนเป็นสารสนเทศหรือกล่าวได้ว่า ขบวนการคือกลุ่มของงานที่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ รูปที่ 1 แสดงขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ
             การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
แนวคิดของระบบและการทำตัวแบบ
           ระบบ (System) หมายถึงกลุ่มส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆที่มีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยส่วนประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างไร เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยระบบแต่ละระบบถูกจำกัดด้วยขอบเขต (System Boundary) ซึ่งจะเป็นตัวแยกระบบนั้นๆ ออกจากสิ่งแวดล้อม ดังแสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในระบบดังรูปที่ 2
ประเภทของระบบ
ระบบสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้หลายกลุ่ม ดังนี้
1. ระบบอย่างง่าย(Simple) และระบบที่ซับซ้อน (Complex)- ระบบอย่างง่าย (Simple) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบน้อยและความสัมพันธ์หรือการโต้ตอบระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา
- ระบบที่ซับซ้อน (Complex) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบมากหลายส่วน แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก
2. ระบบเปิด(Open) และระบบปิด (Close)- ระบบเปิด (Open) คือ ระบบที่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
- ระบบปิด (Close) คือ ระบบที่ไม่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
3. ระบบคงที่ (Static) และระบบเคลื่อนไหว (Dynamic)- ระบบคงที่ (Static) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเวลาผ่านไป
- ระบบเคลื่อนไหว (Dynamic) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ตลอดเวลา
4. ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) และระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive)- ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) คือระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
- ระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive) คือระบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
5. ระบบถาวร (Permanent) และระบบชั่วคราว (Temporary)- ระบบถาวร(Permanent) คือระบบที่มีอยู่ในช่วงระยะเวลายาวนาน
- ระบบชั่วคราว(Temporary) คือระบบที่มีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ประสิทธิภาพของระบบ
ประสิทธิภาพของระบบสามารถวัดได้หลายทาง ได้แก่
    ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือการวัดสิ่งที่ถูกผลิตออกมา หารด้วยสิ่งที่ถูกใช้ไป สามารถแบ่งช่วงจาก 0 ถึง 100% ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพของเครื่องมอเตอร์เครื่องหนึ่งคือพลังงานที่ผลิตออกมา (ในรูปของงานที่ทำเสร็จ) หารด้วยได้พลังงานที่ใช้ไป (ในรูปของไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิง) เครื่องมอเตอร์บางเครื่องมีประสิทธิภาพ 50% หรือน้อยกว่า เนื่องจากพลังงานสูญเสียไปในการเสียดทาน และกำเนิดความร้อน
   ประสิทธิผล (Effectiveness) คือการวัดระดับการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของระบบ สามารถคำนวณได้ด้วยการ หารสิ่งที่ได้รับจากการประสบผลสำเร็จจริง ด้วยเป้าหมายรวม เช่น บริษัทหนึ่งมีเป้าหมายในการลดชิ้นส่วนที่เสียหาย 100 หน่วย เมื่อนำระบบการควบคุมใหม่มาใช้อาจจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ ถ้าระบบควบคุมใหม่นี้สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนที่เสียหายได้เพียง 85 หน่วย ดังนั้นระดับของประสิทธิผลของระบบควบคุมนี้จะเท่ากับ 85%
การทำตัวแบบของระบบ
    ในโลกแห่งความเป็นจริงค่อนข้างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อต้องการทดสอบความสัมพันธ์แบบต่างๆ และสังเกตผลที่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้ตัวแบบของระบบนั้นๆ แทนที่จะทดลองกับระบบจริง ตัวแบบ (Model) คือตัวแทนซึ่งเป็นแนวคิดหรือเป็นการประมาณเพื่อใช้ในการแสดงการทำงานของระบบจริง ตัวแบบสามารถช่วยสามารถสังเกตและเกิดความเข้าใจต่อผลลัพธ์อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ ตัวแบบมีหลายชนิด ได้แก่
1. .
TC = (V)(X)+FC
โดยที่
TC = ค่าใช้จ่ายรวม
V = ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย
X = จำนวนหน่วยที่ถูกผลิต
FC = ค่าใช้จ่ายคงที่
      ในการสร้างตัวแบบแบบใดๆ จะต้องพยายามทำให้ตัวแบบนั้นๆสามารถเป็นตัวแทนระบบจริงได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้ทางแก้ปัญหาของระบบที่ถูกต้องมากที่สุด

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำอธิบายรายวิชา

จุดประสงค์รายวิชา
          1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
          2. มีความสามารถนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการไปวางแผนวิเคราะห์ออกแบบตลอดจนนำไปใช้พัฒนางานองค์กร
          3. เห็นคุณค่าความสำคัญของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

มาตรฐานรายวิชา
          1. ปฏิบัติการวางแผนและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ
          2. ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ
          3. นำระบบสารสนเทศไปใช้กับงานในอาชีพ

คำอธิบายรายวิชา
          ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับความหมายและบทบาทของข้อมูลและสารสนเทศ  ความสำคัญของระบบสารสนเทศกับองค์กรธุรกิจ  โครงสร้างการบริหารในองค์กรธุรกิจระดับการใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ  ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ  ระบบผู้เชี่ยวชาญ  ระบบปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น